วัดไชโยวรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) จ.อ่างทอง

วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นสถานที่ที่ประดิษฐาน พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ประวัติวัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐
ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖.๑๐ เมตร สูง ๒๒.๖๕ เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง ๑ เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม ๔ หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง
ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อวันที่ ๕–๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร ๑ โรง หนัง ๑ โรง ดอกไม้เพลิง ๑ ต้น กัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร
ประวัติวัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐
ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖.๑๐ เมตร สูง ๒๒.๖๕ เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง ๑ เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม ๔ หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง
ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อวันที่ ๕–๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร ๑ โรง หนัง ๑ โรง ดอกไม้เพลิง ๑ ต้น กัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร
ก่อนเสี่ยงทายเซียมซี ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ โดยหลับตาหายใจเข้า-ออกลึกๆ สัก ๑ นาที หรือจนรู้สึกว่าจิตใจสงบแล้ว พร้อมแล้ว ค่อยเริ่มเสี่ยงทาย หากท่านไม่สะดวกเรื่องเวลา เร่งรีบ หรือมีอย่างอื่นที่ต้องทำ มีเสียงดังรบกวน ไม่มีสมาธิแนะนำให้เสียงทายภายหลังจะดีกว่า เมื่อใจสงบเป็นสมาธิดีแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานระลึกเสมือนท่านอยู่ที่ วัดไชโยวรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) จ.อ่างทอง แล้วอธิษฐานดังนี้
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว ....(บอกชื่อของท่าน)..... เกิดวันที่ ........ เดือน .............. พุทธศักราช ........... ขอตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดไชโยวรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) จ.อ่างทองและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ .... (บอกชื่อของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคารพนับถือ) .... ขออาศัยบารมีของท่านทั้งหลาย ช่วยเปิดชะตาทำนายเสี่ยงโชคให้ข้าพเจ้า บอกกล่าวเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นผ่านเซียมซีนี้ด้วยเทอญ
ตั้งจิตอธิษฐานเพ่งระลึกถึงเรื่องราว บุคคล หรือที่เกี่ยวข้องกับคำถาม แล้วให้เขย่าเสี่ยงเซียมซี โดย คลิ๊กรูปเซียมซีด้านล่าง รอสักครู่ ได้หมายเลขอะไรก็อ่านใบเซียมซีเฉพาะเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นคำทำนายรวมของเรื่องนั้นๆ ว่าดีหรือไม่อย่างไร .... คลิ๊กเซียมซีด้านล่าง
