วัดระฆังโฆสิตาราม (บางกอกน้อย) จ.กรุงเทพฯ
วัดระฆังโฆสิตาราม ตั้งอยูที่ เลขที่ ๒๕๐ ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย ด้านหน้าวัด ทิศตะวันออกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตก ตรงกันข้ามท่าช้างวัดหลวงมีท่าเรือข้ามฝากถึงกัน
เดิมชื่อว่า "วัดบางหว้าใหญ่" มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ได้รับการปฏิสังขรณ์ และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "วัดระฆัง" เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีการขุดพระระฆังใบหนึ่งมีเสียงไพเราะมาก ซึ่งโปรดให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างระฆังชดเชย ๕ ใบ
วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวรมหาวิหารที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเคยเป็นสำนักแห่งสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยรัตนโกสินทร์หลายองค์ มีพระอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก พระวิหาร หอระฆัง และพระปรางค์ก็น่าชมเช่นกัน
วัดนี้มีชื่อเสียงมากอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเคยเป็นที่ประทับของ "สมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี)" พระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกและทรงคุณทางวิปัสสนา พระเครื่องสมเด็จวัดระฆังของท่านเป็นที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่ายิ่ง
สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย ๑๙, ๕๗ หรือมาทางเรือโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าวังหลัง หรือข้ามฟากที่ท่าช้าง แล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง รถส่วนตัวใช้เส้นมาทาง ถ.จรัญสนิทวงศ์ เลี้ยวเข้า ถ.พรานนก ขับตรงมาถึง แยก รพ.ศิริราช ให้เลี้ยวขวา ประมาณ ๕๐๐ม. ซ้ายมือตรงสะพานลอยจะมีซุ้มประตูวัดวัดระฆังโฆสิตาราม
เดิมชื่อว่า "วัดบางหว้าใหญ่" มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ได้รับการปฏิสังขรณ์ และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "วัดระฆัง" เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีการขุดพระระฆังใบหนึ่งมีเสียงไพเราะมาก ซึ่งโปรดให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างระฆังชดเชย ๕ ใบ
วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวรมหาวิหารที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเคยเป็นสำนักแห่งสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยรัตนโกสินทร์หลายองค์ มีพระอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก พระวิหาร หอระฆัง และพระปรางค์ก็น่าชมเช่นกัน
วัดนี้มีชื่อเสียงมากอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเคยเป็นที่ประทับของ "สมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี)" พระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกและทรงคุณทางวิปัสสนา พระเครื่องสมเด็จวัดระฆังของท่านเป็นที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่ายิ่ง
สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย ๑๙, ๕๗ หรือมาทางเรือโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าวังหลัง หรือข้ามฟากที่ท่าช้าง แล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง รถส่วนตัวใช้เส้นมาทาง ถ.จรัญสนิทวงศ์ เลี้ยวเข้า ถ.พรานนก ขับตรงมาถึง แยก รพ.ศิริราช ให้เลี้ยวขวา ประมาณ ๕๐๐ม. ซ้ายมือตรงสะพานลอยจะมีซุ้มประตูวัดวัดระฆังโฆสิตาราม
ก่อนเสี่ยงทายเซียมซี ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ โดยหลับตาหายใจเข้า-ออกลึกๆ สัก ๑ นาที หรือจนรู้สึกว่าจิตใจสงบแล้ว พร้อมแล้ว ค่อยเริ่มเสี่ยงทาย หากท่านไม่สะดวกเรื่องเวลา เร่งรีบ หรือมีอย่างอื่นที่ต้องทำ มีเสียงดังรบกวน ไม่มีสมาธิแนะนำให้เสียงทายภายหลังจะดีกว่า เมื่อใจสงบเป็นสมาธิดีแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานระลึกเสมือนท่านอยู่ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม (บางกอกน้อย) จ.กรุงเทพฯ แล้วอธิษฐานดังนี้
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว ....(บอกชื่อของท่าน)..... เกิดวันที่ ........ เดือน .............. พุทธศักราช ........... ขอตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม (บางกอกน้อย) จ.กรุงเทพฯและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ .... (บอกชื่อของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคารพนับถือ) .... ขออาศัยบารมีของท่านทั้งหลาย ช่วยเปิดชะตาทำนายเสี่ยงโชคให้ข้าพเจ้า บอกกล่าวเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นผ่านเซียมซีนี้ด้วยเทอญ
ตั้งจิตอธิษฐานเพ่งระลึกถึงเรื่องราว บุคคล หรือที่เกี่ยวข้องกับคำถาม แล้วให้เขย่าเสี่ยงเซียมซี โดย คลิ๊กรูปเซียมซีด้านล่าง รอสักครู่ ได้หมายเลขอะไรก็อ่านใบเซียมซีเฉพาะเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นคำทำนายรวมของเรื่องนั้นๆ ว่าดีหรือไม่อย่างไร .... คลิ๊กเซียมซีด้านล่าง
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว ....(บอกชื่อของท่าน)..... เกิดวันที่ ........ เดือน .............. พุทธศักราช ........... ขอตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม (บางกอกน้อย) จ.กรุงเทพฯและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ .... (บอกชื่อของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคารพนับถือ) .... ขออาศัยบารมีของท่านทั้งหลาย ช่วยเปิดชะตาทำนายเสี่ยงโชคให้ข้าพเจ้า บอกกล่าวเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นผ่านเซียมซีนี้ด้วยเทอญ
ตั้งจิตอธิษฐานเพ่งระลึกถึงเรื่องราว บุคคล หรือที่เกี่ยวข้องกับคำถาม แล้วให้เขย่าเสี่ยงเซียมซี โดย คลิ๊กรูปเซียมซีด้านล่าง รอสักครู่ ได้หมายเลขอะไรก็อ่านใบเซียมซีเฉพาะเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นคำทำนายรวมของเรื่องนั้นๆ ว่าดีหรือไม่อย่างไร .... คลิ๊กเซียมซีด้านล่าง